ถกสนั่นโวเชียล ‘กัมพูชา’ เอาอีกแล้วเปิดภาพต้นกำเนิด ‘ลาบูบู้’ มาจากวัฒนธรรมเขมร​

Author:

มีเรื่องให้ถกเถียงกันไม่พัก หลังเขมรอ้างเคลม “ลาบูบู้” อาร์ตทอยจากฮ่องกงที่กำลังดังขณะนี้ ว่ามีรากเหง้ามาจาก “หน้ากาล” รูปแกะสลักปีศาจจากวัฒนธรรมของกัมพูชา

ภาพจาก ASEAN skyline

โดยกระแสที่คนแห่แชร์มาจากโปสเตอร์ที่ทางเพจเฟซบุ๊ก “ASEAN skyline” ได้แชร์ไว้ พร้อมข้อความว่า

🇰🇭

From #Cambodia to Hong Kong

🇭🇰

From Kala to Labubu

Labubu is a small monster with high, pointed ears and serrated. It’s the flagship character of Kasing Lung available under multiple figurines within the most generally of the Monsters collections produced by Popmart.

ภาพจากเว็บท่ากรมศิลปากร

ซึ่งในโปสเตอร์ที่ดังกล่าวได้นำภาพของ Kala มาเทียบให้ดูชัดๆ ด้วยว่า หน้าเหมือน “LABUBU” ขนาดไหน พร้อมมีข้อความอธิบายประกอบว่า

“Kala or Kirtimukha is a demon commanded to devour itself, a swallowing fire monster face with huge fangs and gaping mouth. , Kala is very common is Angkorian iconography, sculpted over temple entrances as a guardian.”

โดยแปลได้ใจความว่า หน้ากาล หรือ เกียรติมุข เป็นปิศาจที่ถูกสั่งให้กลืนกินตัวเอง เป็นหน้าปิศาจไฟกลืนกิน มีเขี้ยวใหญ่และมีปากอ้าค้าง ซึ่งแกะสลักไว้เหนือทางเข้าวัดในฐานะผู้พิทักษ์

ภาพจากเว็บท่ากรมศิลปากร

สำหรับ “LABUBU” หรือ “ลาบูบู้” เป็นหนึ่งในจักรวาล The Monsters จากอาณาจักร POP MART ที่ถือกำเนิดโดย คาซิง ลุง (Kasing Lung) ศิลปินชาวฮ่องกง ผู้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทพนิยายยุโรป และนำมาผสมผสานกับเรื่องราวของเอลฟ์ จนกลายเป็นอาร์ตทอยสุดน่ารัก

โดยเจ้าลาบูบู้มีผองเพื่อนในจักรวาลมอนสเตอร์เดียวกันอีกหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น Zimomo, Spook, Yaya เป็นต้น และอัปเดตล่าสุดพบว่ามีกว่า 12 คอลเลกชัน อาทิ The Monsters Mischief Diary Series, The Monsters Fruits Series และอื่นๆ อีกมากมาย โดยทำมาจากวัสดุ PVC

ภาพจาก popmart.com

อย่างไรก็ตาม เว็บท่ากรมศิลปากร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ หน้ากาล หรือ เกียรติมุข ว่า หน้ากาล หรือเกียรติมุข เป็นลายประดับรูปใบหน้าของอสูรที่มีใบหน้าดุร้ายคล้ายยักษ์และสิงห์ อ้าปากกว้าง ริมฝีปากบนมีฟันและเขี้ยว มักจะทำท่าทางคายพรรณพฤกษาหรือท่อนพวงมาลัย หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์แทนผู้กลืนกินทุกสรรพสิ่งตามคติในศาสนาฮินดู ส่วนในทางศิลปกรรมนิยมนำหน้ากาลมาประดับศาสนถานบริเวณเรือนธาตุ หรือซุ้มจระนำ ตามคติความเชื่อในการปกปักรักษาศาสนสถานให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ

ภาพจาก popmart.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *