เมื่อวันที่ 19 มี.ค.67 เวลา 17.00 น. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อน บริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 6 (65/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม 2567) ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง
จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 19 มีนาคม 2567
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงครามรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก
จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 20 มีนาคม 2567
ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และตาก
ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
ภาคใต้
จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีทางกรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศ”พายุฤดูร้อน”ฉบับต่อไปใน วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05.00 น.