ศิลปินแฉอดีตชีวิต “เด็กบ้านนาย” ได้เงินวันละ 80 แต่ใช้เหมือนทาส ต้องกินข้าวเหลือ ซักผ้าด้วยมือเท่านั้น

Author:

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2567 ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะรายหนึ่ง ได้ออกมาตีแผ่ชีวิต การเป็น “ทหารบ้านนาย” จากประสบการณ์ตรงของตนเอง ที่ถูกเลือกให้ไปทำงานที่บ้านนายทหาร ซึ่งหลายคนคิดว่าสบาย แต่จริงๆแล้วตรงกับข้าม ได้เงินวันละ 80 บาท แต่ใช้งานเยี่ยงทาส ให้กินอาหารเหลือ ถึงกับโทรไปร้องไห้กับแม่ โดยผู้โพสต์ระบุว่า

ศิลปินแฉชีวิต ทหารบ้านนาย ใช้งานเหมือนทาส กินข้าวเหลือ ต้องซักผ้าด้วยมือ

“ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมตัดสินใจสมัครทหาร ด้วยความตั้งใจที่จะพูดในน้ำเสียงของทหารเกณฑ์นายหนึ่ง มีคนหลายคนที่เสียโอกาสในชีวิต เพียงเพราะเขาดวงไม่ดี? ทำไมไม่เรียน รด.? อยากให้มองกว้างๆ การเรียน รด. มีค่าใช้จ่ายพอสมควร ความเป็นจริงคือ รด. ไม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กผู้ชายทุกคน

ตนเองประจำใน “กองร้อยคนป่วย” มีคนทุกรูปแบบ โรคหัวใจ ทารัสเซียเมีย วัณโรค ที่น่ากลัวที่สุด คือ ผู้ปวยจิตเวชที่ต้องมาอยู่ในระบบที่คนเหล่านี้คือตัวตลก ทำไมคนป่วยถึงต้องมาเป็นทหาร บางคนขาดการเข้าถึงข้อมูล แต่หลักๆ คือการหาหมอ เพื่อวินิจฉัย (ไม่ทราบว่าต้องออกโดยโรงพยาบาลทหารหรือป่าว) แต่ที่แน่ๆ มีคนหลายคนที่เข้าไม่ถึงขั้นตอนการรักษา ผมมีเพื่อนหนึ่งคน ที่มาทราบในกรมว่าตัวเองเป็น hiv ตกใจกับอาการป่วย แต่สิ่งที่ตามมาน่ากลัวกว่านั้นมาก (การหยอกล้อ) ไว้มีโอกาสจะมาเล่า

มีเหตุผลมากมายที่ผมรู้สึกไม่ดี หนึ่งในนั้นคือน้ำตาของเด็กผู้ชายที่โดนพรากอิสรภาพ เพียงเพราะดวงไม่ดี (ดวงไม่ดีที่เกิดในครอบครัวยากจน) เรื่องอุดทหาร มีราคามหาศาล หลายคนอาจจะพอทราบ วันที่รับ สด 9 สัสดีอาจจะติดต่อพ่อแม่คุณไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนนี้อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ยังต้องจับใบดำใบแดง แต่ในทัศณะของผม ปัจจัยหลักๆ ที่ยังต้องบังคับ คือ ระบบข้างในที่หลายๆอย่างไม่สมเหตุสมผล การฝึกที่หลายๆ อย่างเหมือนจะแค่สนุก การบังคับโดยไม่มีข้อแม้ การหยามความเป็นคนจนลืมตัวว่าเราเป็นแค่ทาส

ศิลปินแฉชีวิต ทหารบ้านนาย ใช้งานเหมือนทาส กินข้าวเหลือ ต้องซักผ้าด้วยมือ

“เด็กบ้านนาย” ผมโดนบังคับเลือกไป อาจจะเพราะไม่ใช่ชายแท้ (บ้านเขามีลูกสาวสวย) อาจจะเพราะจบปริญญาตรี (เวลาเลือกคนทำความสะอาดห้อง ทหารชั้นผู้ใหญ่มักจะเลือกจากระดับการศึกษา ตอนอยู่กองร้อยผมประจำการล้างห้องน้ำผู้การ อันนี้สบาย เพราะถือเป็นห้องน้ำส่วนตัวผมไปด้วย) ยืนยันเรื่องจริงยิ่งกว่าละคร

80 % ของบ้านนายทหารไม่มีเครื่องซักผ้า ผมซักเสื้อ ยันกางเกงใน เกิดมาไม่เคยรีดชุด นร. ใส่เอง ก็ต้องมาทำ โดนปฏิบัติเสมือนทาสเรือนเบี้ยดีๆ ได้เงินวันละ 80 อาศัยอาหารเหลือ ห้ามใส่รองเท้าในเขตรั้วบ้าน รอเปิดประตูรั้ว เดินตามเก็บรองเท้าทันที่นายท่านถอด และทุกเช้าจะต้องนำมาวางพร้อมใส่

ศิลปินแฉชีวิต ทหารบ้านนาย ใช้งานเหมือนทาส กินข้าวเหลือ ต้องซักผ้าด้วยมือ

“ไม่ทราบว่า ให้ผมเรียกว่าอะไรครับ” เรียกคุณนายก็ได้จ๊ะ ส่วนลูกสาวให้เรียกคุณหนู แม้แต่ชื่อผมก็ไม่มีสิทธิ์เรียก ผมทนอยู่ได้ 3 วัน เป็นครั้งแรกที่ร้องให้ให้แม่ได้ยิน

บางคน บางหน้าที่ บางตำแหน่ง อาจเป็นการปูพื้นฐานในการยกคนบางกลุ่มให้ดูประเสริฐมากกว่าคนบางกลุ่ม นี่คือหนึ่งในคำตอบที่ว่าทำไมบ้านนายทหารถึงไม่ใช้เครื่องซักผ้า คงเพราะ การที่สามารถสั่ง ใช้เช็ดขี้เช็ดเยียว การที่ทำน้ำหกแล้วมีคนตามเช็ด มันดูสูงส่งกว่า วิธีคิดแบบเจ้านาย ไม่เพียงส่งต่อมาในระบบทหาร แต่เป็นทั้งครอบครัว 6 เดือนที่เป็น บางทีก็เผลอลืมตัว อินกับการเป็นเจ้านายลูกน้องหลายๆ ครั้ง

ชนชั้นนึงที่เรียกว่า นายทหาร กำลังนำภาษีว่าด้วยรั้วของชาติ ไปใช้เป็นทาสส่วนตัว เกียรติยศของชายไทย เป็นแค่คำหลอกลวง เป็นแค่ตลาดให้พวกนายทหารมาดูตัวไปใช้ประโยชน์ส่วนตน

สิ่งที่พอจะได้กลับมาช่วงเป็นทหาร คงเป็นความสนุกมหาศาล ความเพลิดเพลินกับการลืมความเป็นคน ทหารจะต้องไม่ใช่การบังคับ มีแต่ข้อดีกับภาพลักษณ์องค์กร ทั้งคุณภาพบุคลากร ความโปร่งใส ผลประโยชน์ คอรัปชั่น จะลดลง หรือข้อดีทั้งหมด จะเป็นข้อเสียของผู้ถือผลประโยชน์ กระมัง”

ศิลปินแฉชีวิต ทหารบ้านนาย ใช้งานเหมือนทาส กินข้าวเหลือ ต้องซักผ้าด้วยมือ

อย่างไรก็ตาม ผู้โพสต์ได้คอมเมนต์เพิ่มเติมใต้โพสต์ว่า “หากเจ้าของบ้านมาเห้นผมไม่มีความเกลียดชังหรือแค้นส่วนตัว ผมเข้าใจว่าพวกคุณเจตนาดี แต่ความน่ากลัวที่สุดของเรื่องนี้ เพราะคุณไม่คิดว่าสิ่งที่ทำมันดี เนี่ยะแหละที่ผมรับไม่ได้ เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์กับหลายๆคน ว่าการเอื้อน้ำใจเล็กๆน้อยไม่ได้ทำให้คุณเป็นคนดีเสมอไปการเอื้อบางอย่างอาจจะกำลังทำลายความรู้สึกคนอื่นด้วยคำว่าดูถูก”

ผู้โพสต์ยังย้ำอีกครั้งว่า เรื่องราวที่ตนเองนำมาแชร์นั้น ไม่ได้เหมารวมแต่อย่างได้ แค่พูดในกรณีที่พบเจอจากกองร้อยของตัวเองเท่านั้น และเชื่อว่าคนไทยไม่ได้โง่ขนาดจะแยกแยะไม่ได้ ระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องโกหก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *