อัปเดต เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ขั้นต่ำเดือนละ 11,000 บาท จากกรณีที่ประชุม ครม. (2 เม.ย. 67) เห็นชอบปรับปรุงอัตราเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ข้าราชการ 2567 เพื่อให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจนครบ เดือนละ 11,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 67 เป็นต้นไป
ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับเบี้ยหวัดและผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และสอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
ข้าราชการ-ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ มี 5 ประเภท ได้แก่
- ผู้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม
- ผู้รับบำนาญปกติ
- ผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
- บำนาญพิเศษ และบำนาญตกทอดในฐานทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ
โดย นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นวันข้าราชการพลเรือน ถือโอกาสเปิดเผยความคืบหน้าและความพร้อมในการเตรียมตัวปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 นี้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) มีความพร้อม โดยได้ดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งได้มีการหารือและประสานงานกับสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ขอให้ข้าราชการมั่นใจได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแน่นอน
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 มีมติอนุมัติปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี
ทั้งนี้ เป้าหมายเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุทุกคุณวุฒิ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) และแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ภายใน 2 ปี (ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 67 และปีที่ 2 วันที่ 1 พ.ค. 68)
รวมทั้งมีการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับประมาณ 10 ปี
“การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการนั้นเป็นไปตามความเหมาะสม คำนึงถึงสถานการณ์โลกและความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และจะส่งผลให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต รวมทั้งเพื่อรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพและศักยภาพเข้าสู่ระบบราชการ